ไม่ว่าจะซื้อไข่ไก่จากซุปเปอมาร์เก็ตหรือที่ตลาดสด ไขไก่เยอรมันก็จะมีตราประทับอย่างที่เห็นในรูปนี่ล่ะค่ะ
คนเยอรมันไม่นิยมกินไข่เป็ด เห็นมีแต่ไข่ไก่ขาย ที่เห็นเป็นสีขาว นั่นก็ไข่ไก่นะ ไม่ใช่ไข่เป็ดอย่างบ้านเรา ให้เข้าใจผิดอยู่เป็นนานตั้งแต่แรกเริ่มมาอยู่ (เส่อเหร่อซะไม่มี)
แรก ๆ ไปซื้อไข่ที่ซุปเปอมาร์เก็ต ก็สงสัย ทําไมมีหลายชื่อ หลายราคา ไม่เข้าใจ แต่ก็เลือกซื้อฟองใหญ่ ราคาพอประมาณไว้ก่อนล่ะ
คาดว่าประเทศเยอรมนีจะเป็นต้นตํารับในการประทับตราบนไข่ไก่ เพราะตั้งแต่วันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๔๕ ผู้ผลิตและค้าไข่ไก่สมัครใจที่จะประทับตราบนไข่ไก่ของตนที่นําออกสู่ท้องตลาด ให้ผู้บริโภคได้ทราบว่าผลิตจากที่ไหน มาจากระบบการวางไข่ประเภทใด
วันที่ ๑ มกราคม ๒๕๔๗ ทั่วสหภาพยุโรปก็ปฏิบัติเป็นอย่างเดียวกัน คือ ทําเครื่องหมายบนไข่ไก่สดทุกฟองที่มีการผลิตและส่งขาย
รหัสตัวแรกที่เห็นจะหมายถึง ลักษณะหรือประเภทการวางไข่ (Haltungssystem)
เลข 0 – ?kologische Erzeugung/Biohaltung
เลข 1- Freilandhaltung
เลข 2 – Bodenhaltung
เลข 3 - K?fighaltung
รหัสต่อมาคือ มาจากประเทศอะไร (Herkunftsland)
เช่น DE หมายถึงประเทศเยอรมนี AT หมายถึง ออสเตรีย NL หมายถึง เนเธอแลนด์
(ฺBE = เบลเยี่ยม, DK = เดนมาร์ก, ES = สเปน, FI = ฟินแลนด์, FR = ฝรั่งเศส,
GR = กรีก, IR = ไอร์แลนด์, IT = อิตาลี, LU = ลักแซมเบิร์ก, PT = โปรตุเกส,
SE = สวีเดน, UK = United Kingdom)
จากนั้นก็เป็นหมายเลขการผลิตและหมายเลขของเล้าหรือกรง (Betriebsnummer & Stallnummer)
นอกจากนี้ ที่บรรจุภัณฑ์หรือภาชนะที่บรรจุไข่ไก่ ก็จะมีฉลากบอก:
คุณภาพของไข่ (G?teklasse)
เช่น เกรด A จะเป็นไข่ไก่ที่สด สะอาด ไม่ชํารุด ลักษณะตามมาตรฐาน
ขนาด :
S = small - นํ้าหนักตํ่ากว่า 53 กรัม
M = medium – นํ้าหนักระหว่าง 53-62 กรัม
L = large – นํ้าหนักระหว่าง 63-72 กรัม
XL = extra large - นํ้าหนักเกินกว่า 72 กรัม
วันหมดอายุ: ไข่ไก่จะสดอยู่นานประมาณ 28 วัน
ตอนนี้มาดูกันถึงตัวเลข 0-4 ที่ระบุอยู่บนไข่ไก่ (Haltungssystem)
0 = ?kologische Erzeugung/Biohaltung :
เรียกว่าไข่ไก่ปลอดสารพิษก็ได้ เพราะแม่ไก่จะถูกเลี้ยงตามสุขลักษณะ ไม่มีการใช้สารเคมี ไม่ใช้สารเร่งการเจริญเติบโต
1 = Freilandhaltung :
นอกจากจะมีคอกหรือเล้าให้อยู่แล้ว ยังมีพื้นที่ให้แม่ไก่ได้เคลื่อนไหวอย่างน้อย 4 ตารางเมตร/แม่ไก่หนึ่งตัว บรรดาแม่ไก่ที่ถูกเลี้ยงในลักษณะนี้จะทนต่อสภาพดินฟ้าอากาศภายนอก แต่มีข้อเสียตรงที่คุณภาพของไข่ไก่ที่ออกมาจะไม่สมํ่าเสมอ ไม่ว่าจะเป็นขนาด สีของไข่แดง หรือความหนาของเปลือกไข่ ต้นทุนการผลิตของไข่ไก่ประเภทนี้จะค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับประเภทอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียแม่ไก่ ผลผลิต และการดูแล
2 = Bodenhaltung :
แม่ไก่จะถูกเลี้ยงอยู่ในเล้า พื้นที่วางไข่ 1 ตารางเมตร/แม่ไก่ 9 ตัว ภายในเล้าไก่แบ่งพื้นที่เป็นชั้น ๆ
ได้อย่างมากที่สุด 3 ชั้น มีพื้นที่ให้อาหาร มีรัง มีราวให้เกาะ มีวัสดุธรรมชาติ เช่น ฟาง ทราย ไว้ให้ขุ้ยเขี่ยหรือวางไข่ การปล่อยให้แม่ไก่ได้เคลื่อนไหวจะทําให้ปีกและกระดูกขาแข็งแรง แม่ไก่ได้ใช้เล็บจิกขุ้ยตามลักษณะนิสัยของมัน
แต่มีข้อเสียคือ มีการติดเชื้อ(จากขี้ไก่)ได้ง่าย โอกาสที่จะเสียไก่ทั้งเล้าก็มีสูง การรักษาก็เป็นการเพิ่มต้นทุน
3 = K?fighaltung :
แม่ไก่ถูกเลี้ยงอยู่ในกรง พื้นที่ 550 ตารางเซนติเมตร/แม่ไก่หนึ่งตัว พื้นที่จะน้อยกว่ากระดาษ A4 อีกนะ มีการดูแลอย่างดี ในเรื่องอาหาร นํ้า การเก็บไข่ และกําจัดขี้ไก่ การเลี้ยงแบบนี้ข้อเสีย คือ แม่ไก่ถูกจํากัดอิสระในการเคลื่อนไหว ทําให้ปีกและกระดูกขาเปราะและหักง่าย แต่จะมีข้อดีคือไม่มีการติดเชื้อจากมูลสัตว์ ต้นทุนการผลิตตํ่า ไม่เสียเวลาดูแลมากเหมือนการเลี้ยงแบบอื่น ๆ
ไข่ไก่ในเยอรมนีประมาณ 70% จะเป็นไข่ไก่เบอร์ 3
การกําหนดแบบนี้เพื่อให้ผู้บริโภคให้ทราบถึงรายละเอียดของกระบวนการผลิตไข่ไก่ตั้งแต่แรกเริ่มจนถึง
ออกวางสู่ตลาด และสามารถเลือกซื้อตามประเภทที่ตนพอใจได้อย่างเชื่อมั่น ว่าไข่ไก่ที่ซื้อไปนั้นปลอดภัยและผลิตอย่างถูกสุขลักษณะ
แหล่งข้อมูลและรูปภาพ :
http://www.cma.de/content/eier/de-kennzeichnung.php
http://www.kochbaeren.de/Rezept/Eier-Groesse-Herkunft.html
http://www.was-wir-essen.de/abisz/eier_erzeugung_haltung.php
http://www.oknation.net/blog/JinjokJiap/2007/08/25/entry-1
commentson this post